

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 : การรับนักศึกษา
สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีกระบวนการจำแนกคุณสมบัติของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร ภายหลังจากนักศึกษาได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย ทั้งประเภทโควตารับตรง และสมัครสอบทั่วไป ทางสาขาวิชาจะนัดหมายนักศึกษามาเพื่อสัมภาษณ์ และจัดการทดสอบคุณลักษณะของนักศึกษาซึ่งอ้างอิงจากเป้าหมายของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. วิธีการสัมภาษณ์
เป็นการจำแนกและคัดกรองคุณลักษณะของนักศึกษาเบื้องต้น ในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการทำงาน, การเรียนรู้, และศึลธรรม
2. การจัดการทดสอบคุณลักษณะ
เป็นการจำแนกและคัดกรองทักษะการเรียนรู้ และองค์ความรู้ในเนื้อหาที่เป็นต้นทุนเดิมของนักศึกษา
ซึ่งภายหลังจากการประเมินและประมวลผลในคุณสมบัติและคุณลักษณะของนักศึกษาแรกเข้าเรียบร้อยแล้ว จะนำไปสู่การจัดการอบรมเพื่อปรับฐานความรู้ และการจัดหาทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา โดยการจัดการปรับพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าศึกษาในสาขาวิชาดังกล่าว จะมุ่งเน้นให้นักศึกษาแรกเข้าได้รับความรู้เชิงบูรณาการในภารวมของหลักสูตรดังกล่าว เพื่อให้เกิดการสร้างเจตคติที่ดี อันจะส่งผลต่อความสามารถในการสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด
ตังบ่งชี้ที่ 3.2 : การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
ในช่วงปีแรกของการศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน ได้จัดกิจกรรมอันเป็นกลไกในการพัฒนาทั้งความรู็พื้นฐาน และความรู้ความสามารถในรูปแบบต่าง ทั้งในและนอกหัองเรียน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี
1.1. ระบบที่ปรึกษาออนไลน์ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ
1.2. เฟสบุ๊คของสาขาวิชา โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นผู้รับผิดชอบ
1.3. ระบบสายรหัสนักศึกษา โอยนักศึกษารุ่นพี่และศิษย์เก่าเป็นผู้รับผิดชอบ
2. การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่บัณฑิตศึกษา
3. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรรู้ในศตวรรษที่ 21

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 : ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ระดับความพึงพอใจและผลการร้องเรียนของนักศึกษา
- ระดับความพึงพอใจในหลักสูตร
- ระดับความพึงพอใจในสิ่งอำนวยความสะดวก
- ข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง